การเตรียมพื้นของแผล(wound bed preparation)

Last updated: 21 ส.ค. 2562  |  3306 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การเตรียมพื้นของแผล(wound bed preparation)

Principle of Wound Management and Wound Bed Preparation การเตรียมพื้นของแผล(wound bed preparation) การจัดการผู้ป่วยที่มีบาดแผลเรื้อรังนั้น แนวคิดเกี่ยวกับการเตรียมพื้นของแผล (wound bed preparation) เป็นแนวคิดที่มีความสำคัญในการ เตรียมความพร้อมของแผลให้กลับคืนสู่สภาพปกติได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Falanga, 2003; Hess & Kirsner, 2003)   การเตรียม พื้นของแผล หมายถึง การจัดการแผลอย่างครอบคลุม โดยเน้นการเตรียมสภาพพื้นของแผลเป็นอย่างดี เพื่อส่งเสริมให้เกิดกระบวนการหายของแผลตามปกติ (Schultz, Mozingo, Romanelli, & Claxton, 2005) ถ้าไม่มีการเตรียมพื้นแผลที่ดีไม่ว่าจะใช้ผลิตภัณฑ์ใดๆในการดูแลบาดแผล ก็ไม่สามารถ ช่วยให้บาดแผลหายได้อย่างเหมาะสม (Falanga, 2003)


 สรุปอย่างง่ายๆ การดูแลรักษาบาดแผล หลักในการรักษาบาดแผล มี 3 ปัจจัย


+ ควบคุมการติดเชื้อ หากแผลนั้น ๆ มีการติดเชื้อ จำเป็นจะต้องมีการดูแลบาดแผลเหมือนแผลติดเชื้อดังที่กล่าวมาแล้ว แต่ถ้าพื้นแผลแดงชมพู แสดงว่าแผลดีไม่มีการ ติดเชื้อ ไม่ต้องใส่น้ำยาฆ่าเชื้อใด ๆ เพียงแต่เปลี่ยนวัสดุปิดแผลที่ให้ความชุ่มชื้น หากไม่มีวัสดุปิดแผลดังกล่าว อาจใช้ผ้าก๊อซชุบน้ำเกลือ แล้วปิดไว้บนแผล และเปลี่ยน ผ้าก๊อซชุบน้ำเกลือบ่อย ๆ ไม่ให้แผลแห้ง

+ การกำจัดเนื้อตาย บ่อยครั้งที่พบว่า แผลเรื้อรังนั้นมีเนื้อตาย แข็งสีดำหรือเนื้อตายนุ่มสีเหลือง/น้ำตาล อยู่บนแผล ในบางครั้งเราอาจเข้าใจผิดคิดว่าเป็นสะเก็ดหรือหนอง เนื้อตายเหล่านี้เป็นสิ่งที่ขัดขวางการหายของแผล หากเนื้อตายที่อยู่บนแผลมีขนาดใหญ่ ควรส่งไปโรงพยาบาลเพื่อตัดเนื้อตายเหล่านี้ทิ้งไป แต่หากเนื้อตายมีขนาดเล็ก อาจใช้เจลหรือออยเมนท์ ใส่ลงไปเพื่อทำให้เนื้อตายนิ่มลงและหลุดออกได้เองโดยขบวนการกำจัดเนื้อตายของร่างกายเอง

+ การควบคุมความชื้น การหายของแผลแบบชุ่มชื้นนั้น มีประสิทธิภาพอย่างมาก เมื่อเรานำมาใช้กับแผลเรื้อรัง เพราะแผลเรื้อรังเป็นแผลที่หายยาก วัสดุที่ใช้จะให้ ความชุ่มชื้นกับแผลแต่ละสภาพแตกต่างกัน ดังนั้นก่อนใช้ควรศึกษาให้เข้าใจ จะช่วยให้แผลหายได้อย่างรวดเร็ว และไม่เสียเงินมากเกินไป

จะเห็นได้ว่าที่กล่าวมาทั้งหมดนั้นมุ่งเน้นที่บาดแผลโดยเฉพาะ แต่เราต้องตระหนักถึงปัจจัยที่ส่งเสริมให้การหายของแผลเกิดขึ้นได้อย่างดีด้วย เช่น ภาวะโภชนาการ (ทั้งจากภายใน และภายนอก .. เฉพาะที่), การได้รับสารหรือยาบางชนิดที่ส่งผลต่อเนื้อเยื่อที่งอกใหม่ทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ, การสูบบุหรี่, การดื่มสุรา เป็นต้น


เอกสารอ้างอิง : • Kenji Tazawa,Skin Barriers for Stoma Care From Basic Theory to Clinical Application • Keryin Carville, Wound Care Manual,Silver Chain Nursing Association,1995 • Ruth A.Bryant.Acute and ChronicWoundsNursing Management., St. Louis: Mosby Year Book, 2000. • จุฬาพร ประสังสิต Modern Wound Dressing ,Update Practice in wound Management, The second wound care meeting of the thai society of woung healing ชมรม สมานแผลแห่งประเทศไทย ่ ,2550,

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้