ข้อมูลงานวิจัยกลไกการทำงานของยาสีฟันรีเย่อร์ & ยาสีฟันสัตว์เลี้ยงรีครีโอ 
 
ยาสีฟันที่ทำให้เกิด 3 สมดุล ในช่องปากและฟัน
image
1 สมดุลของเชื้อจุลินทรีย์ ทั้งในมนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ( Homeostasis of Oral/ Dental Microbiome of Mammal )

พัฒนาการจากเหงือกที่มีสุขภาพดี มาสู่โรคเหงือกอักเสบและโรคปริทันต์ (Healthy Gingiva to Gingivitis >>>> Periodontitis) ตามลำดับ

(ก) ฟันที่มีสุขภาพดี จะมีความลึกของร่องเหงือกที่ปกติ เหงือกสีชมพูซีดจาง และไม่มีภาวะเลือดออกตามไรฟัน
(ข) และเมื่อใดที่เกิดการเปลี่ยนแปลงของสมดุลเชื้อจุลินทรีย์ในช่องปาก และสมดุลเชื้อจุลินทรีย์ในแผ่นคราบจุลินทรีย์หรือในไบโอฟิล์ม จะเหนี่ยวนำให้เกิดภาวะอักเสบ โดยการตอบสนองของระบบภูมิคุ้ม คือ นิวโทรฟิล (Neutrophil) เป็นผลให้เนื้อเยื่อเหงือกเริ่มมีการอักเสบ บวม แดง และมีเลือดออกตามไรฟัน
(ค) ถ้ายังไม่ได้รับการแก้ไขสมดุลของเชื้อจุลินทรีย์ที่เสียไปนี้ ภาวะความรุนแรงของโรคก็ยังคงดำเนินต่อไป ร่วมกันกับการตอบสนองของภูมิคุ้มกันอย่างต่อเนื่อง และทำให้เสียสมดุลไปทั้ง ๒ ส่วนคือ เสียสมดุลของเชื้อจุลินทรีย์ และเสียสมดุลของระบบภูมิคุ้มกัน-นิวโทรฟิล (เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นคาบเกี่ยวกัน - Overlap) กล่าวคือ เซลล์นิวโทรฟิล ผลิตสารอักเสบและเอ็นไซม์ที่เกี่ยวข้องในกลไกการตอบสนองต่อการอักเสบออกมาอย่างต่อเนื่อง (ไม่รู้จบ - วงจรหมุนวนแบบไม่รู้จบ) กล่าวคือ เอ็นไซม์ต่างๆและสารสื่ออักเสบต่างๆที่เกิดในกระบวนการอักเสบ ถูกผลิตออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยที่เอ็นไซม์และสารสื่ออักเสบต่างๆที่มีหน้าที่ยับยั้งในกลไกการอักเสบที่เกิดขึ้นนั้น มีไม่เพียงพอต่อการ Shut Down และทำหน้าที่บกพร่อง ( Enzyme mediator และ Enzyme inhibitors ) จนก่อให้เกิดการทำลายเซลล์และเนื้อเยื่อแวดล้อม รวมถึงอวัยวะแวดล้อม (ในที่นี้คือ อวัยวะปริทันต์ ได้แก่ เหงือก และกระดูกเบ้าฟัน - Collateral Damage) เช่น เกิดร่องเหงือกลึกมากขึ้น-ร่องลึกปริทันต์-กระเป๋าปริทันต์ (Periodontal Pocket) มีหนอง และมีกลิ่น จนกระทั่งกระดูกเบ้าฟันเกิดการละลาย ฟันโยก และสูญเสียฟันในที่สุด
image

สมดุลแร่ธาตุ ( Acid-Base Balance/ Saturation of the Solution in dental plaque/ biofilm )

ในเรื่องของภาวะ กรด - ด่าง ในของเหลวที่อยู่ในแผ่นคราบจุลินทรีย์ (Micro-environment) ที่เกาะอยู่บนผิวฟันนั้น ในภาวะอิ่มตัวน้อยจะทำให้เกิดการสูญเสียแร่ธาตุ (Demineralization) ออกจากผลึกโครงสร้างฟัน (Calcium Hydroxyapatite Crystals) และในภาวะอิ่มตัวเกินของของเหลวที่อยู่ในแผ่นคราบจุลินทรีย์นี้ จะทำให้เกิดการคืนกลับของแร่ธาตุ (Remineralization) สู่โครงสร้างฟัน กระบวนการต่างๆเหล่านี้เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา (Dynamic Equilibrium)

จากสมมติฐานก่อนล่าสุด "Ecological Plaque Hypothesis (EPH), 1994 Philip D. Marsh" ว่าด้วยกลไกการเกิดฟันผุ... แทนที่จะบอกว่าแบคทีเรียตัวนี้ เป็นตัวสร้างกรดแล้วทำให้ฟันผุ ก็บอกว่า มันไม่ได้ Specific ขนาดนั้น มันเป็น Non-specific Plaque Hypothesis ซึ่งบอกว่า "ฟันผุเกิดขึ้นจากผลรวมของการเปลี่ยนแปลง ของพวกเชื้อที่อยู่ใน Plaque ทั้งหมด คือ ทั้งหมดใน Dental Biofilm ต่างๆ ( Sessile Microbial Communities ) ไม่ใช่เฉพาะ จาก Strep. mutan( Pathogen ) และบอกว่า.. ที่รู้อย่างนี้เพราะว่า จากการวิจัย ดูแล้ว บนพื้นผิวของทั้งฟันผุและฟันที่ไม่ผุ ก็จะเจอพวกเชื้อโรคพวกนี้เหมือนกันหมด เพียงแต่ปริมาณต่างกันเท่านั้นเอง" ....ซึ่งในปัจจุบันมีสมมติฐานใหม่ที่พัฒนาต่อมาจากอันนี้ คือ “The Keystone-Pathogen Hypothesis” (KPH) (Hajishengallis et al., 2012). >> The KPH indicates that certain low-abundance microbial pathogens can cause inflammatory disease by increasing the quantity of the normal microbiota and by changing its composition. (Hajishengallis et al., 2012) << ....ซึ่งเทียบเคียงให้เห็นภาพได้ประมาณว่า ถ้าในช่องปากของเรานั้น เปรียบได้กับผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ โดยจะมีสิ่งมีชีวิตคีย์สโตน (Keystone Species) คือเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีอิทธิพลต่อสภาวะแวดล้อมที่อาศัยอยู่อย่างมาก ซึ่งในที่นี้คือเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อโรค ( Pathogens ) ถึงแม้ว่าบางครั้งจำนวนประชากรของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นอาจจะต่ำก็ตาม หากถ้าสิ่งมีชีวิตคีย์สโตนหายไปจากระบบนิเวศน์หนึ่งๆ ระบบนิเวศน์นั้นจะเสียดุลและพังทลายลง

ยกตัวอย่างเช่น เสือ ซึ่งเป็นผู้ควบคุมจำนวนประชากรสัตว์กินพืช หากเสือลดน้อยลงหรือไม่มีเลย เป็นเหตุให้จำนวนประชากรสัตว์กินพืชเพิ่มขึ้น ความต้องการด้านอาหารก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย และจะเกิดเป็นผลกระทบลูกโซ่เช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนเกิดความล้มเหลวในระบบนิเวศน์ เป็นเหตุให้เกิดการพังทลายลงนั่นเอง

image

สมดุลของการตอบสนองในระบบภูมิคุ้มกัน ( Homeostasis of Immunity and Innate Immunity )

ในบทบาทของเซลล์นิวโทรฟิลด์ ( Neutrophil ) เอ็นไซม์ เมดิเอเตอร์ ( Enzyme Mediators ) และเอ็นไซม์ อินฮิบิเตอร์ ( Enzyme Inhibitors ) จะต้องประสานงานกันอย่างสอดคล้อง กล่าวคือ เมื่อสวิทช์ถูกเปิด ( Enzyme Mediators ) กลไกการปกป้องสุขภาพในช่องปากโดยระบบภูมิคุ้มกันเริ่มทำงาน ในส่วนของสวิทช์ที่ทำหน้าที่ปิดนั้น ( Enzyme Inhibitors ) จะต้องสามารถทำงานได้ตามปกติ จนกว่าภาวะการรุกรานนั้นจะสามารถถูกควบคุมได้อย่างเบ็ดเสร็จ โดยระบบภูมิคุ้มกันตามธรรมชาติ ( Innate Immunity ) แต่ถ้าสวิทช์ที่ปิดนี้สูญเสียหน้าที่ไป จึงจำเป็นที่จะต้องมีบางสิ่งมาช่วยเสริม เพื่อเป็นการลดทอนความรุนแรงหรือลดทอนภาระของระบบภูมิคุ้มกันที่กำลังทำงาน
(Host Modulatory Therapy) ซึ่งมันทำหน้าที่มากจนเกินไป - ทำงานจนเกินพอดี

ในสมดุลที่ ๒ และ ๓ มีความเกี่ยวเนื่องและเกิดขึ้นคาบเกี่ยวกันกับภาวะพร่องในภูมิคุ้มกันเฉพาะที่ ( Innate Immunity ) หรือด้อยประสิทธิภาพ ในที่นี้คือ โปรตีนต้านจุลินทรีย์ - Antimicrobial peptides - AMPs ที่อยู่ในเยื่อบุผิวหรือเยื่อเมือกช่องปาก ( Oral mucosal barrier ) และน้ำลาย ( Hyposalivation - Xerostomia ) ซึ่งอาจจะได้รับผลกระทบมาจากความระคายเคืองต่อสารเคมี ( Oral mucosal barrier disruption ) หรือภาวะน้ำลายที่ผิดปกติในบางคน

โดยสภาวะของสมดุลทั้ง ๓ นี้ จะทำให้เกิดการคงสภาพอยู่ เพื่อให้ทำหน้าที่ได้อย่างปกติ ( Normal Function ) และมีประสิทธิภาพ
( Quality of Life-QOL ) จนกว่าจะเสื่อมสลายไปตามกาลเวลาของมันเอง ( Deteriorate with life Expectancy )

กระบวนการที่เกิดขึ้นต่างๆเหล่านี้ ถ้าสามารถทำให้เกิดขึ้นได้จริง ก็จะสามารถยับยั้งการเกิดฟันผุ โรคเหงือกอักเสบ-โรคปริทันต์ กลิ่นปากอันเนื่องมาจากสารประกอบกำมะถัน และแผลร้อนในตามเยื่อเมือกในช่องปากต่างๆ ได้อย่างเป็นรูปธรรม ..ซึ่งนั่นก็หมายความว่า โรคทั่วร่างอันเกี่ยวเนื่องมาจากโรคในช่องปากและฟัน ก็จะสามารถควบคุมหรือป้องกันได้เช่นเดียวกัน

แหล่งอ้างอิงและงานวิจัยเกี่ยวกับ 3 สมดุล ในช่องปากและฟัน

Ref: Historical and contemporary hypotheses on the development of oral diseases: are we there yet?,
Department of Preventive Dentistry, Academic Centre for Dentistry Amsterdam (ACTA), University of Amsterdam and Free University Amsterdam, Amsterdam, Netherlands
Philips Research, Eindhoven, Netherlands

ความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาพในช่องปากและฟัน (Oral/ Dental Health) กับโรคทั่วร่าง (Systemic Diseases)
ยาสีฟันแก้เสียวฟัน, Natural  toothpaste, Chocolate toothpaste
แนวคิด Bio-clean: ส่งเสริมคุณภาพและปริมาณของน้ำลาย (Promote quality & quantity of Saliva) และเสริมการทำงานของโปรตีนต้านจุลินทรีย์ในช่องปาก ด้วยการไม่ไปรบกวนสมดุลของเชื้อจุลินทรีย์ในช่องปาก (and Boost Antimicrobial Peptides (AMPs) with Eco-balance of Oral Microbiome) ด้วยยาสีฟัน เอ็นไซม์ พรีไบโอติค รี - เย่อร์

การดูแลช่องปากและฟัน ด้วยยาสีฟันเอ็นไซม์พรีไบโอติค (ตัวช่วยเสริมในการดูแลช่องปากและฟันที่มีประสิทธิภาพ และสามารถสัมผัสได้ถึงผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม) ที่ไม่ไปทำลายภาวะธำรงดุลของเชื้อจุลินทรีย์ในช่องปาก (Oral Microbiome) โดยไม่ระคายเคืองต่อเยื่อเมือกในช่องปาก และไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพและปริมาณของน้ำลาย (Quality and Quantity of Saliva) ซึ่งจะส่งผลให้เกิดภาวะของโรคในช่องปากต่างๆ เช่น ฟันผุ โรคเหงือก-โรคปริทันต์อักเสบ แผลติดเชื้อในช่องปากในลักษณะต่างๆ เช่น แผลร้อนใน และสาเหตุของการเกิดกลิ่นปาก อันเนื่องมาจากองค์ประกอบของสารจำพวก H2S-สารประกอบกำมะถัน ....และนี่คือเหตุผลในการเปลี่ยนแปลง? ..เพื่อสิ่งที่ดีกว่า

สิ่งใดก็ตามที่ใช้ในช่องปากหรือบนผิวหนังของคุณ สามารถถูกดูดซึมเข้าไปสู่กระแสเลือดและระบบน้ำเหลืองของร่างกายได้ ดังนั้นผลิตภัณฑ์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในช่องปากและผิวหนังที่มีลักษณะเป็น Natural Barriers เหล่านี้ ควรที่จะมีความปลอดภัยและไม่เป็นอันตรายต่อเยื่อบุเซลล์ผิว ตัวอย่างเช่น ยา Nitroglycerin สามารถถูกดูดซึมได้อย่างรวดเร็วเมื่ออยู่ใต้ลิ้น และมุ่งตรงเข้าออกฤทธ์ในทันทีต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด

ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องใหม่เลยที่.... แบคทีเรียจากฟันจะมีผลต่อโรคทางระบบต่างๆที่เกี่ยวเนื่อง นั่นคือเหตุผลที่ต้องมีการเตรียมผู้ป่วยก่อนที่จะเข้ารับการรักษาต่ออวัยวะนั้นๆ ซึ่งในโรคปริทันต์และ Peri-implantitis เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบที่ลุกลามมาจากการเสียสมดุลใน เด็นตอล ไบโอฟิล์ม/ แผ่นคราบจุลินทรีย์-dental plaque และเกี่ยวเนื่องกันเป็นลูกโซ่กับโรคทั่วร่าง (Systemic Diseases) เช่น โรคลิ้นหัวใจติดเชื้อมาจากกระแสเลือด-Endocarditis ไขข้ออักเสบ-รูมาตอยด์อาร์ไธรติส-Rheumatoid Arthritis ภาวะเบาหวาน-DM เป็นต้น และเป็น Focal of Infection ในช่องปาก ซึ่งน่าเสียดายที่วิธีการป้องกันและรักษาในปัจจุบันนั้น ยังไม่สามารถตอบโจทย์และแก้ไขปัญหาที่ต้นตอได้อย่างเป็นรูปธรรมแบบเบ็ดเสร็จ ดังนั้นวิธีการที่จะแก้ไขปัญหาที่ต้นตอได้อย่างถูกจุด จะต้องเข้าใจถึงกลไกหรือพยาธิกำเนิดของโรคต่างๆที่เกิดขึ้นในช่องปากและฟัน ซึ่งในปัจจุบันจากการศึกษาได้โฟกัสไปที่ปัจจัยอันเกิดจากปฏิสัมพันธ์ของเชื้อจุลินทรีย์ในไบโอฟิล์ม/ แผ่นคราบจุลินทรีย์-dental plaque ระบบนิเวศน์ของเชื้อจุลินทรีย์ที่เสียสมดุลจนก่อให้เกิดโรคต่างๆตามมาอย่างต่อเนื่อง และจากการวิจัยในช่วง 30 ปีที่ผ่านมาได้สร้างให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ๆอย่างมากมาย จนได้ข้อสรุปที่ว่า.... ไบโอฟิล์ม/ แผ่นคราบจุลินทรีย์-dental plaque ที่เสียสมดุลไปจนก่อให้เกิดโรคนั้น ไม่ใช่ว่าจะมุ่งกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อโรค (Pathogens) แต่เพียงอย่างเดียว แต่ควรที่จะทำให้เกิดสมดุลของเชื้อจุลินทรีย์ในไบโอฟิล์ม/ แผ่นคราบจุลินทรีย์-dental plaque ด้วย เนื่องจากเป็นไปไม่ได้เลยที่จะกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อโรคได้หมด ทุกๆอย่างในแต่ละอวัยวะของร่างกายเรานั้น ล้วนประกอบไปด้วยเชื้อจุลินทรีย์ที่ดีและไม่ดี แต่ทุกๆอย่างอยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล (Symbiosis/ Eubiosis) จึงไม่ปรากฎลักษณะของโรคในรูปแบบต่างๆในแต่ละอวัยวะนั้นๆ ตามสมมติฐาน Ecological Plaque & Keystone Pathogens Hypothesises ซึ่งความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสมดุลเชื้อจุลินทรีย์ในช่องปากและฟันของมนุษย์นั้น (Oral microbiome) จะเป็นแบบแผนและแนวทางใหม่ในการพัฒนาการตรวจวินิจฉัย การป้องกัน และการรักษาโรคในช่องปากและฟันในปัจจุบัน รวมไปถึงการดูแลที่ถูกต้องและไม่ไปขัดขวางการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันเฉพาะที่ในช่องปาก (Bio-clean and Host Modulatory Dental/ Oral Care) รวมไปถึงการไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่ออ่อนต่างๆในช่องปาก (Oral Mucosa) ซึ่งจะมีผลกระทบโดยตรงต่อการทำงานของระบบน้ำลายที่หล่อเลี้ยงเยื่อเมือกในช่องปากและฟัน รวมถึงประสิทธิภาพและการทำงานของโปรตีนต้านจุลินทรีย์ที่มีอยู่ในเซลล์เยื่อบุผิวและในน้ำลาย โดยถือเป็นปัจจัยหลักของการเกิดโรค ไม่ใช่เพียงมีแค่เชื้อก่อโรคอย่างเดียวที่ทำให้เกิด ปัจจัยทางพันธุกรรมในแต่ละคน พฤติกรรมในการบริโภคของแต่ละคน (ชนิดและรูปแบบของอาหารที่รับประทานเป็นประจำ-Life style) วิธีการดูแลที่ถูกต้อง และตัวช่วยเสริมที่มีประสิทธิภาพ โดยให้การชดเชยในสิ่งที่ร่างกายนั้นขาดไป.. เพื่อให้เกิดการปกป้อง ฟื้นฟู และเกิดการคงสภาพให้สามารถทำหน้าที่ต่อไปได้ตามปกติ (Normal Function) ทั้งหมดเหล่านี้ถือเป็นองค์ประกอบของการเกิดโรคในช่องปากและฟันทั้งสิ้น ขาดปัจจัยอย่างใดอย่างหนึ่งไปไม่ได้เลย
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้