เหตุผลที่ทำไมผิวจึงลอกออกหลังจากสักลาย และทำไมสีจึงซีดจางไม่สดใสเหมือนตอนที่สักเสร็จใหม่ๆ ?

Last updated: 6 ก.ย. 2563  |  122050 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เหตุผลที่ทำไมผิวจึงลอกออกหลังจากสักลาย และทำไมสีจึงซีดจางไม่สดใสเหมือนตอนที่สักเสร็จใหม่ๆ ?

 Photo by Helder Mira via www.flickr.com


กระบวนการลอกของผิวนี้ จะเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่เพียงแต่ผิวที่มีรอยสักเท่านั้น ในผิวทั่วๆไปนั้น ก็มีการลอกเกิดขึ้นอยู่ทุกวันและตลอดเวลา การลอกนี้ คือการผลัดเซลล์ผิวในผิวหนังชั้นนอก หรือ อีพิเดอร์มิส [Epidermis] ซึ่งก็คือ "ขี้ไคล" นั่นเอง ..ส่วนในผิวที่มีรอยสักนั้น การลอกออกดูไม่เหมือนขี้ไคล ก็เพราะเหตุที่ว่า ผิวหนังในบริเวณที่มีการสักนั้นได้รับบาดเจ็บ และเกิดการกระทบกระเทือนจากแรงภายนอกอย่างต่อเนื่อง [Trauma] ทำให้ผิวบริเวณนี้ ขาดความต่อเนื่อง เซลล์ผิวชั้นนอกจึงแห้ง ตาย และหลุดลอกออกไป หลังจากเสร็จสิ้นในกระบวนการสักลาย ซึ่งสิ่งที่ลอกออกไปนั้น คือผิวชั้นหนังกำพร้าที่ลอกออกไปกับสีหมึกส่วนเกิน แต่สีหมึกที่ถูกฝังเข้าไปในชั้นหนังแท้ จะไม่มีการลอกออกหรือสูญเสียออกไป

หลังจากที่แผลรอยสักลอกออกแล้ว ไม่ได้หมายความว่าเป็นการเสร็จสิ้นหรือจบในกระบวนการหายของแผลอย่างสมบูรณ์ กระบวนการนี้ยังคงดำเนินต่อไปในชั้นหนังแท้ หรือ ในชั้นผิวที่ลึกกว่านั้น และจะดำเนินต่อไปอีกประมาณ 2 ถึง 4 สัปดาห์  ซึ่งถือเป็นกระบวนการเยียวยาตามธรรมชาติ ในระหว่างนี้จะต้องไม่มีอะไรไปรบกวนหรือขัดขวางต่อกระบวนการเหล่านี้ จึงจำเป็นที่จะต้องรู้หลักและกระบวนการของการดูแลที่ดี ที่จะส่งผลให้เกิดร่องรอยแผลเป็นที่เห็นได้ด้วยตาเปล่าน้อยที่สุด และความเข้มของสีหมึกลดลงไปน้อยที่สุด

 

การดูแลโดยใช้หลักในการทำความเข้าใจในกลไกต่างๆ จะทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุด

 

  • ควบคุมให้เกิดความชุ่มชื้นที่พอเหมาะอย่างต่อเนื่อง : ในช่วง 1 สัปดาห์แรก ต้องมีการควบคุมให้เกิดความชุ่มชื้นที่พอเหมาะอย่างต่อเนื่อง โดยใช้หลักการ "Advanced Cellular Regeneration" โดยผ่านตัวช่วยเสริม "Moist exposed wound ointment: MEWO" หรือในกรณีบาดแผลจากรอยสักคือ "Moist exposed tattoo ointment: METO" ซึ่งถือเป็นเคล็ดลับ หรือ เทคนิคในทางกลไกระดับโมเลกุลหรือระดับเซลล์ และยังถือได้ว่าเป็นเทคนิคที่ Update ที่สุด ในวงการสมานบาดแผลผิวหนังในยุคปัจจุบัน ผลพลอยได้ที่น่าทึ่งคือ ร่องรอยของแผลเป็นจะเกิดขึ้นน้อยมาก สีรอยสักใต้ผิวหนังจะซีด จาง น้อยลง มากกว่าที่เป็นกันในปัจจุบัน แผลจะหายได้ดี และเร็วขึ้น อาการปวด แสบ ตึง บริเวณแผลน้อยลง เพราะได้รับออกซิเจนอย่างเพียงพอ

 

  • เพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ : เพื่อให้เกิดการกำจัดอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นมาจากเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน ถือเป็นการป้องกันและปกป้อง เพื่อไม่ให้เม็ดสีถูกกำจัดหรือถูกทำลายไปมากกว่าปกติ โดยปฏิกิริยาอ็อกซิเดชั่น 

 

  • สารอาหารจำพวกกรดไขมันและวิตามินดี3จะช่วยฟื้นฟูเซลล์ผิวได้ดีขึ้นอย่างสมบูรณ์ : สารอาหารจำพวกกรดไขมัน ถือเป็นวัตถุดิบหลัก ในการซ่อมสร้างและฟื้นฟูเซลล์ผิว ซึ่งจะสามารถทำงานร่วมกันกับ วิตามินดี 3 ได้เป็นอย่างดี ดังนั้นในระยะนี้ การสัมผัสกับแสงแดดเพื่อให้เกิดการสร้างวิตามินดี 3 ในผิวหนังชั้นนอก อย่างเพียงพอและเหมาะสม จึงยังมีความจำเป็นอยู่ ..ถ้าจะให้ดี ควรหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ที่บล็อคเพียงคลื่น UVB เพราะมีเพียงช่วงคลื่น UVB เท่านั้น ที่จะช่วยกระตุ้นให้เกิดการสังเคราะห์ วิตามินดี 3 ในชั้นผิว เพื่อให้เพียงพอต่อการนำมาใช้ประโยชน์ ได้อย่างทันท่วงที ทำให้ผิวได้รับการซ่อมแซมและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องโดยไม่สะดุด 

 

  • ไม่ควรใช้สารกันแดดที่มีความเข้มข้นสูงจนเกินไป : ผิวของคุณควรที่จะได้รับแสงแดดอย่างเหมาะสม และไม่ควรใช้สารกันแดดที่มีความเข้มข้นสูงจนเกินไป อย่างต่อเนื่องนานๆ อย่ายึดถือที่ค่า Sun protecting factor[SPF] เป็นหลัก แต่ให้ยึดถือที่ค่า Antioxidant protecting factor [APF] เป็นหลัก เพราะเหตุผลในเชิงกลไกทางสรีระวิทยาระดับเซลล์

 

หากทำความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกและกระบวนการทางสรีระวิทยาเหล่านี้ จะทำให้เรารู้หลักในการดูแลแผลได้ดีขึ้น ไม่เพียงแต่จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับบาดแผลจากการสักลายเท่านั้น บาดแผลทั่วๆไปที่สามารถเกิดขึ้นได้บนพื้นผิวหนัง ก็จะสามารถนำมาปรับใช้ และจัดการกับบาดแผลต่างๆเหล่านี้ได้อย่างถูกต้องตามกระบวนการ โดยที่ไม่ไปรบกวนต่อระบบการซ่อมสร้างและฟื้นฟูตามปกติของร่างกาย 

 

 

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหลังสัก ' รีเย่อร์ ' ได้ที่ https://www.re-er.net/content/14565



หรือสั่งซื้อออนไลน์ 

สั่งด้วยตัวเองง่ายๆผ่านเว็บไซต์
 
 
--------------------
 
 ช่องทางอื่นๆ
 
 
 
และ

 
 
 
 

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้