Last updated: 27 ก.พ. 2563 | 5879 จำนวนผู้เข้าชม |
ความสัมพันธ์ของ กลไกการเกิดฟันผุ กลไกการเกิดโรคปริทันต์ (โรคเหงือก) กับปฏิกิริยาตอบโต้กลับของร่างกาย(ในระบบภูมิคุ้มกัน)ต่อภาวะการถูกทำลาย ที่ก่อตัวขึ้นอย่างช้าๆต่ออวัยวะในช่องปาก(ฟันผุ โรคปริทันต์-โรคเหงือก แผลเยื่อเมือกในช่องปาก เช่น แผลร้อนใน และกลิ่นปากอันเนื่องมาจากสารประกอบของกำมะถัน) แม้ว่าเราจะปฏิบัติตัว ดูแลช่องปากและฟันอย่างถูกวิธี และเคร่งครัดมากเพียงใด ถูกต้องตามหลักการเชิงกล และมีตัวช่วยเสริมในเรื่องการดูแลช่องปากให้เลือกใช้มากมายขนาดไหน ทำไมอุบัติการณ์ของการเกิดโรคในช่องปาก การเกิดฟันผุ โรคเหงือก ต่างๆเหล่านี้ จึงยังเป็นปัญหาหลักของคนในชาติและคนทั่วโลก ซึ่งไม่มีทีท่าว่าจะลดลง .... แล้วร่างกายเราจะสามารถฟื้นฟูตนเองตรงจุดนี้ได้เองหรือไม่ ?.... อย่างไร ?
กลไกการหายของฟัน (การเยียวด้วยตัวเอง) หรือกลไกการป้องกันฟันผุจากข้างใน โดยระบบ Osteo-immune system ซึ่งมีจุดกำเนิดมาจากไขกระดูก วิตามิน D3 วิตามิน K2 และสารชีวโมเลกุลจากอาหาร ( Micro-nutrients) และจากระบบภูมิคุ้มกันในแต่ละคน จะมีความแตกต่างกัน ซึ่งต่อไปจะมีบทบาทสำคัญต่อเคลือบฟัน เนื้อฟันและการตอบสนองต่อระบบภูมิคุ้มกันในช่องปากและฟัน
โดยไม่จำเปนต้องใช้.. Detergents (ที่ส่วนใหญ่แล้วมักจะมีฟองมาก เป็นสารลดแรงตึงผิว เพื่อหวังผลในด้านการชำระล้างอย่างหมดจด).. ที่รุนแรง.. Wash... ทุกวัน... เพราะจะทำให้เยื่อเมือกอ่อนในช่องปากระคายเคืองมากเกินไป เกิดการสูญเสียดุลของภูมิคุ้มกันเฉพาะที่ตามธรรมชาติ ( เปปไทด์ต้านจุลินทรีย์ -Antimicrobial Peptides-AMPs ) บนผิวเยื่อเมือกอ่อนในช่องปาก เช่น เหงือก ร่องเหงือก ลิ้น เพดานปาก เป็นต้น) และสมดุลแบคทีเรียในช่องปาก รวมทั้งในแผ่นคราบจุลินทรีย์ที่เกาะอยู่บนตัวฟันสูญเสียไป.. ทำให้ขาดวิตามิน D3 และ K2.... ในการ.. Maintain.. เหงือกและฟัน.. ให้คงสภาพและทำหน้าที่อยู่ได้อย่างปกติ
จากสมมติฐานก่อนล่าสุด "Ecological Plaque Hypothesis (EPH), 1994 Philip D. Marsh" ว่าด้วยกลไกการเกิดฟันผุ... แทนที่จะบอกว่าแบคทีเรียตัวนี้ เป็นตัวสร้างกรดแล้วทำให้ฟันผุ ก็บอกว่า มันไม่ได้ Specific ขนาดนั้น มันเป็น Non-specific Plaque Hypothesis ซึ่งบอกว่า "ฟันผุเกิดขึ้นจากผลรวมของการเปลี่ยนแปลง ของพวกเชื้อที่อยู่ใน Dental Plaque (แผ่นคราบจุลินทรีย์) ทั้งหมด คือ ทั้งหมดใน Biofilm ต่างๆ ( Sessile Microbial Communities) ไม่ใช่เฉพาะ จาก Strep. mutans ( Pathogen ) และบอกว่า ที่รู้อย่างนี้เพราะว่า จากการวิจัยดูแล้ว บนพื้นผิวของทั้งฟันผุ และฟันที่ไม่ผุ ก็จะเจอพวกเชื้อโรคพวกนี้เหมือนกันหมด เพียงแต่ปริมาณต่างกันเท่านั้นเอง" ....ซึ่งในปัจจุบันมีสมมติฐานใหม่ที่พัฒนาต่อมาจากอันนี้ คือ “The Keystone-Pathogen Hypothesis” (KPH) (Hajishengallis et al., 2012). The KPH indicates that certain low-abundance microbial pathogens can cause inflammatory disease by increasing the quantity of the normal microbiota and by changing its composition. (Hajishengallis et al., 2012)
....ซึ่งเทียบเคียงให้เห็นภาพได้ประมาณว่า ถ้าในช่องปากของเรานั้น เปรียบได้กับผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ โดยจะมีสิ่งมีชีวิตคีย์สโตน (Keystone Species) คือเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีอิทธิพลต่อสภาวะแวดล้อมที่อาศัยอยู่อย่างมาก ซึ่งในที่นี้คือแบคทีเรียตัวร้าย ( Pathogens-Strep. mutans ) ถึงแม้ว่าบางครั้งจำนวนประชากรของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นอาจจะต่ำก็ตาม หากสิ่งมีชีวิตคีย์สโตนหายไปจากระบบนิเวศน์หนึ่งๆ ระบบนิเวศน์นั้นจะเสียดุลและพังทลายลง
ยกตัวอย่างเช่น เสือ ซึ่งเป็นผู้ควบคุมจำนวนประชากรสัตว์กินพืช หากเสือลดน้อยลงหรือไม่มีเลย เป็นเหตุให้จำนวนประชากรสัตว์กินพืชเพิ่มขึ้น ความต้องการด้านอาหารก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย และจะเป็นผลกระทบลูกโซ่เช่นนี้ไปเรื่อยๆ จนเกิดความล้มเหลวในระบบนิเวศน์ เป็นเหตุให้เกิดการพังทลายลงนั่นเอง
จากฟันไม่ผุ กลายเป็นผุ ได้อย่างไร ? .. ก็คือ สิ่งแวดล้อมบริเวณนั้นเปลี่ยนไป มันมีปัจจัยอื่นเข้ามา 2 ตัวใหญ่ คือ ความถี่ของการกินแป้งและน้ำตาล ( Processed sugar ) อีกอันคือ คุณภาพและปริมาณของน้ำลาย (Healthy Saliva)
ถ้ากินแป้งและน้ำตาลบ่อยมากเข้าประกอบกับมีปริมาณน้ำลายน้อยและด้อยคุณภาพ อีกทั้งผลกระทบจากการใช้ SLS (สารซักล้างเคมีที่ก่อให้เกิดฟองที่มีอยู่ทั่วๆไปในท้องตลาด) ทำให้ปริมาณของน้ำลายน้อยลงและด้อยคุณภาพ เกิดเยื่อเมือกหลุดลอก ปากแห้ง คอแห้ง ริมฝีปากแห้งและลอกออก ..สังเกตได้จากคนที่มี Immune (ภูมิคุ้มกัน)ต่ำๆ หรือพวกที่ทำคีโมหรือเรดิโอ บำบัด ..พวกนี้ฟันผุไวมากๆและรุนแรงมากๆ ( Rampant Caries ) ก็จะทำให้ไม่มีคุณภาพพอที่จะทานกัน ความเป็นกรดในแผ่นคราบจุลินทรีย์ก็จะเพิ่มขึ้น ( ค่า pH ลดลง ) พวกแบคทีเรียที่อ่อนแอก็ตายไป พวกที่ชอบกรดก็แข็งแกร่งแถมที่ยังคงอยู่ ยังสร้างกรดเพิ่มขึ้นเข้าไปอีก พอปริมาณเคมีระหว่างตัว Plaque กับตัวแร่ธาตุในโครงสร้างฟันเริ่มเสียดุล ก็จะเกิด Demineralization ขึ้น (เกิดการการสูญเสียแร่ธาตุ) เพราะฉะนั้นการเกิดฟันผุเป็นปฏิกิริยาทางเคมี ที่สูญเสียความสมดุลระหว่าง Microflora (เชื้อจุลินทรีย์ประจำถิ่นที่อยู่ภายในช่องปาก) ที่อยู่ใน Dental Plaque กับ Host คือ ตัวฟันนั่นเอง
(นักวิทยาศาสตร์ระบุว่า ในร่างกายคนเราประกอบไปด้วยเซลล์มนุษย์เพียง 43% ส่วนที่เหลือเป็น จุลินทรีย์ ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า.... จุลินทรีย์ทั้งหมดที่อยู่ในร่างกายของเราเรียกว่า ชีวนิเวศจุลินทรีย์ หรือ ไมโครไบโอม (Microbiome) การศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กจิ๋วเหล่านี้ กำลังเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจที่เรามีอยู่เกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ ตั้งแต่โรคภูมิแพ้ไปจนถึงโรคพาร์กินสัน.... ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ยังทำให้เกิดคำถามว่าแท้จริงแล้ว "มนุษย์" คืออะไร ? อีกทั้งยังนำไปสู่นวัตกรรมการรักษาโรคแบบใหม่ ๆ ด้วย.... ศ.รูธ ลีย์ ผู้อำนวยการแผนกวิทยาศาสตร์ชีวนิเวศจุลชีพแห่งสถาบันแมกซ์ แพลงค์ บอกว่า จุลินทรีย์เหล่านี้สำคัญต่อสุขภาพคุณ "ร่างกายของคุณไม่ได้มีแค่คุณเท่านั้น".....ไม่ว่าคุณจะชำระล้างทำความสะอาดเพียงใด แทบทุกซอกทุกมุมของคุณถูกปกคลุมไปด้วยจุลินทรีย์ ซึ่งมีทั้งเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส และเชื้อรา โดยแหล่งที่มีจุลินทรีย์อาศัยอยู่มากที่สุดในร่างกายเราก็คือลำไส้)
จากทฤษฎีล่าสุดนี้ เราก็จะรู้แล้วว่า ... ถ้าเราไปกำจัดเชื้อโรคอย่างเดียวมันไม่ได้ผล เพราะสาเหตุไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคอย่างเดียว เราก็ต้องไปจัดการตัวอื่นๆด้วย (ปัจจัยที่เกี่ยวเนื่องกันแบบลูกโซ่) เช่น ความถี่ของการกินแป้งและน้ำตาล และคุณสมบัติของน้ำลาย ถ้าเรามีตรงนี้แล้ว เราก็จะมีพื้นฐานที่จะป้องกันโรคฟันผุได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในเรื่อง ความถี่ของแป้งและน้ำตาล ... เมื่อคนเรากินน้ำตาล ( Processed sugar )เข้าไป ค่า pHจะต่ำลง จะเกิดความเป็นกรดในช่องปากมากขึ้น แต่โดยธรรมชาติของน้ำลายในช่องปากจะค่อยๆปรับให้เป็นด่างมากขึ้น เจือจางและชะล้างออกไปโดยอัติโนมัติ จากการศึกษา ก็คือ กินเสร็จ ค่า pH ก็ตกฮวบเลย และก็จะค่อยๆสูงขึ้น แต่ก็จะใช้เวลาเป็นชั่วโมง แต่ถ้าเรากินจุบจิบเพิ่มขึ้นอีก ค่า pHก็ตกมากขึ้นไปอีก กินเข้าไปอีก ค่า pH ก็ตกลงไปอีก ก็จะกลายเป็นว่า ความเป็นกรดจะอยู่นานขึ้น ....เสมือนหนึ่งว่ามีค่า pH ที่เป็นกรดอยู่ตลอดเวลาในช่องปาก ดังนั้นสมดุลตรงนี้ได้สูญเสียไปแล้ว ก็จะทำให้เกิดการสูญเสียแร่ธาตุ (Demineralization) ออกไปอย่างต่อเนื่องจนเกิดฟันผุตามมาดังที่เห็นกันโดยทั่วๆไป
ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ที่เราสามารถจะจัดการกับภาวะฟันผุ หรือฟันที่กำลังจะผุได้ ..ถ้าเรารู้ถึงพยาธิกำเนิดของการสึกกร่อนในโครงสร้างฟันตั้งแต่แรกเริ่ม ..และมีปัจจัยใดบ้างที่เข้ามาเกี่ยวข้องในกระบวนการสูญเสียแร่ธาตุ (Demineralization) ..และจะทำอย่างไรให้เกิดการคืนกลับของแร่ธาตุดังเดิม ..รู้ในความเป็นมา .. และเป็นไป
ด้วย ๓ ปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้องกันดังนี้ คือ
๑. ชนิดของอาหารที่เราบริโภคอยู่เป็นประจำ (Optimize Your Diet- Diet for Tooth Remineralization)
๒. การดูแลสุขภาพในช่องปากที่ดีและปฏิบัติได้อย่างถูกวิธีการ (Practice Good Oral Hygiene)
๓. การเลือกใช้สิ่งที่มีส่วนช่วยเสริมในการดูแล ที่เป็นปัจจัยช่วยให้เกิดการคืนแร่ธาตุสู่ผิวฟันได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Use Remineralization Promoters- Boosting Remineralization)
ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดจะต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบทั้ง ๓ ข้อเหล่านี้ ซึ่งมีปัจจัยในด้านพันธุกรรมเข้ามาเกี่ยวข้องในแต่ละบุคคล แต่ลำดับขั้นตอนของการเกิดฟันผุกร่อน หรือการสูญเสียแร่ธาตุนั้น จะเป็นไปตามลำดับขั้นตอนเหล่านี้เสมอ เป็นขั้นเป็นตอนและเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา ..ถ้าเราสามารถควบคุมวงจรนี้ให้ได้ดุลกัน คือ การสูญเสียแร่ธาตุจากผิวฟัน (Demineralization) = การคืนแร่ธาตุสู่ผิว ฟัน (Remineralization).... ฟันผุกร่อน ก็จะไม่ปรากฎ
Ref: Historical and contemporary hypotheses on the development of oral diseases: are we there yet?,
Department of Preventive Dentistry, Academic Centre for Dentistry Amsterdam (ACTA), University of Amsterdam and Free University Amsterdam, Amsterdam, Netherlands
Philips Research, Eindhoven, Netherlands
3 มี.ค. 2562
23 ม.ค. 2563